HOME ABOUT US

EDIUS11

Search dvm-mag


We have 39 guests online
E-mail

เบื้องต้นกับบลูเรย์

          ท่านที่ติดตาม DVM เป็นประจำจะทราบดีว่าเรามีการนำเรื่องราวของระบบโทรทัศน์ความชัดสูงมาแนะนำอย่างต่อเนื่อง แม้ในระยะแรกจะยังไม่ยังมีความชัดเจนอันเนื่องมาจากระบบโทรทัศน์ของประเทศไทยยังไร้ทิศทางและไม่มีทีท่าว่าจะมีการตัดสินใจใด ๆ ภายในสิบปีนี้จากภาครัฐ ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์พื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายวิดีโอ จอภาพ และเครื่องเล่นต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายอยู่มากมายในบ้านเราตั้งแต่ระดับอาชีพลงไปถึงระดับผู้บริโภคต่างก็สนับสนุนระบบความชัดสูงแล้วทั้งสิ้น แต่เพื่อความไม่ประมาท DVM ก็ได้เสนอทางเลือกที่ไม่ต้องง้อการติดสินใจของภาครัฐโดยการหันไปสู่ระบบความชัดสูงในรูปแบบอิสระ (free format HDTV) เช่น Windows Media HD, H.264 หรือ AVCHD เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่มาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งในอนาคต

          เป็นที่ทราบกันว่า แม้เราจะมีกล้อง HDCAM, HDV, และกล้องมือถือแบบ AVCHD กันเกลื่อนเมือง คนระดับกลางซื้อโทรทัศน์ที่เป็น HD Ready หรือแม้แต่ True HDทั้งแบบจอแก้ว พลาสมา แอลซีดี หรือแม้แต่เครื่องฉายภาพมาประดับบ้านกันเต็มไปหมด แต่เราก็หาได้ใช้งานสิ่งเหล่านี้กันอย่างคุ้มค่าไม่ ผู้ผลิตรายการ รวมทั้งนักถ่ายวิดีโอสมัครเล่นทั้งหลายที่ถือกล้องถ่ายวิดีโอความชัดสูงในมือต่างถ่ายกันในรูปแบบความชัดมาตรฐานเกือบทั้งสิ้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการถ่ายด้วยระบบความชัดสูงนั้นนำไปเผยแพร่ได้ยาก การแปลงรูปแบบเป็น WMVHD และ H.264 นั้นยังซับซ้อนเกินไปสำหรับคนทั่วไป อีกทั้งยังต้องนำไปเปิดด้วยเครื่องเล่นดีวีดีรุ่นพิเศษหรือเปิดด้วยคอมพิวเตอร์กำลังสูงเท่านั้น นอกจากนี้เครื่องเล่นวิดีโอระบบความชัดสูงที่แข่งขันกันสองค่ายคือ HDDVD กับ Blu-ray ก็ยังไม่รู้อนาคตที่ชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ทำให้การนำระบบความชัดสูงมาใช้งานยังไม่ประสบความสำร็จเท่าที่ควร

          ในที่สุดเมื่อทาง วอร์เนอร์ บราเทอร์ (Warner Brothers) ได้ตกลงเลิกการสนับสนุนให้ภาพยนตร์ในค่ายของตนเองผลิตในรูปแบบของแผ่น HDDVD และที่สำคัญที่สุดเมื่อโตชิบ้า ผู้ผลิตเครื่องเล่น HDDVD หลัก ได้ประกาศยุติการผลิตเครื่องเล่นรวมทั้งตัวขับ HDDVD อย่างสิ้นเชิงไปเมื่อต้นปี 2551 มานี้ ภาพต่าง ๆ จึงดูชัดเจนขึ้น เพราะตลาดจะเหลือแผ่นดีวีดีความชัดสูงเพียงระบบเดียวเท่านั้นคือมาตรฐาน Blu-ray ของโซนี่ นั่นเอง

          เมื่อไปดูความพร้อมต่าง ๆ ในการนำระบบความชัดสูงมาใช้งานในบ้านเรา จะเห็นว่าการผลิตรายการหลัก ๆ ก็คงยังเน้นเพื่อนำไปออกอากาศโทรทัศน์แบบเดิม ๆ ที่ยังคงเป็นระบบความชัดมาตรฐานอยู่ เพราะนี่คือขุมทรัพย์หลักเพียงอย่างเดียวที่จะไปหล่อเลี้ยงธุรกิจการผลิตรายการต่าง ๆ ให้อยู่รอดได้ ผู้ผลิตที่ไม่ง้อสถานีโทรทัศน์ ทำรายการเพื่อจำหน่ายเอง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของแผ่นภาพยนตร์ สื่อสายธาร น้อยรายที่จะประสบความสำเร็จได้ ในทางกลับกัน สำหรับงานนำเสนอข้อมูล งานที่ต้องการภาพพจน์ รวมถึงงานของมือสมัครเล่นและภาพยนตร์ส่วนตัวกลับมีทางออกในการใช้งานระบบความชัดสูงมากกว่า
 

ตัวอย่างบทความจริง  โปรดอ่านฉบับเต็มใน DVM 40

 
Please register or login to add your comments to this article.