HOME NEWS Products HTPC Intro

EDIUS11

Search dvm-mag


We have 39 guests online
E-mail

ทำความรู้จักกับ Blu-ray HTPC

          หลายท่านคงคุ้นเคยกับเครื่องเล่นสื่อ (media player หรือ media center) แบบอเนกประสงค์ ที่สามารถเปิดเล่นสื่อได้หลายหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นสื่อที่บันทึกไว้บนแผ่นซีดี ดีวีดี ฮาร์ดดิสก์ แฟลชไดรฟ์ หรือแม้แต่สื่อที่อยู่บนเครือข่ายหรือบนอินเทอร์เน็ต มาบ้างแล้ว ครื่องเล่นสื่อเหล่านี้เหมาะสำหรับการใช้เป็นอุปกรณ์นำเสนอ (presentation) ข้อมูลตามห้องประชุมต่าง ๆ เพราะไม่ว่าผู้บรรยายจะนำสื่อชนิดใดมาใช้ก็สามารถเปิดเล่นได้ทั้งนั้นโดยไม่ต้องเตรียมเครื่องเล่นไว้หลายชนิด DVM เองก็เคยนำเครื่องเล่นสื่อประเภทนี้มานำเสนอไปแล้วในฉบับที่ 29
 
          นอกจากความสามารถในการเล่นสื่อมาตรฐานต่าง ๆ แล้ว เครื่องเล่นสื่อมักจะมีความสามารถในการเปิดภาพยนตร์ความชัดสูง (high definition) แบบใดแบบหนึ่งหรือหลายแบบได้ในตัว เช่นข้อมูลวิดีโอที่บีบอัดมาแบบ DivXHD, WMVHD, และ H.264 เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากมาตรฐานของแผ่นภาพยนตร์ความชัดสูงในช่วงเริ่มต้นยังไม่ยุติ อีกทั้งยังจะทำให้เครื่องเล่นมีราคาสูงเกินไป จึงไม่ปรากฏว่ามีเครื่องเล่นสื่อรุ่นใดที่สามารถเปิดเล่นแผ่นบลูเรย์ (blu-ray) หรือเอชดีดีวีดี (HDDVD)ได้
เพื่อความสะดวกในการใช้งาน เครื่องเล่นสื่ออเนกประสงค์เหล่านี้จึงมักออกแบบเป็นเครื่องเฉพาะที่เรียกว่าเซ็ตท็อป (set top) ลักษณะเหมือนกับเครื่องเล่นดีวีดีทั่วไป แต่ด้วยโครงสร้างแบบนี้มันจึงขาดความยืดหยุ่น ไม่สามารถขยายระบบได้ นักคอมพิวเตอร์ผู้มองการณ์ไกลจึงนำคอมพิวเตอร์ที่มีข้อจำกัดน้อยกว่ามาปรับปรุงอุปกรณ์ที่จำเป็นบางตัวเช่น การ์ดเสียงและการ์ดแสดงผล เพื่อให้เปิดเล่นสื่อชนิดต่าง ๆ ได้แทนการใช้เครื่องเล่นสื่อโดยเฉพาะ

HTPC
          HTPC (Home Theater Personal Computer) หรือ คอมพิวเตอร์แบบโรงภาพยนตร์ในบ้านเริ่มเป็นเรื่องเป็นราวเมื่อเกือบสิบปีที่ผ่านมา เพียงแต่ในระยะแรกไม่ได้ใช้ชื่อ HTPC อย่างเป็นทางการ ระยะนั้นเป็นช่วงที่ดีวีดีกำลังเริ่มต้น เครื่องเล่นดีวีดีแบบเซ็ตท็อปยังมีราคาหลายหมื่นบาท ในขณะที่ตัวขับดีวีดีสำหรับคอมพิวเตอร์มีราคาเพียงห้าพันบาท คอมพิวเตอร์ที่ความเร็วน้อยกว่า 300MHz จะไม่สามารถใช้ซอฟต์แวร์เปิดดีวีดีได้ การ์ด MPEG เช่น RealMagic จึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า อย่างไรก็ตามในยุคนั้นแผ่นภาพยนตร์ดีวีดียังหายากพอสมควร ผู้ที่รักชอบจริง ๆ ต้องไปหาแผ่นโซน 3 จากเกาหลีและใต้หวัน หรือแผ่นโซน 1 จากอเมริกามาใช้กันเอง ขณะที่ระบบโรงภาพยนตร์ในบ้านยังใช้แผ่นเลเซอร์แบบแอนะล็อกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8” เป็นหลักอยู่ ยุคนั้นจึงยังไม่ใช่เวลาของ HTPC 


ตัวอย่างบทความจริง โปรดอ่านฉบับเต็มใน DVM 40

 
Please register or login to add your comments to this article.