HOME NEWS Products Progressive CCD

วันพ่อแห่งชาติ

Search dvm-mag


We have 153 guests online
Progressive CCD PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Wednesday, 01 July 2009 10:58

เรื่องยุ่ง ๆ ของ Progressive CCD

WhiteBalance

               ผมถูกตามตัวกระทันหันหลังจากว่างเว้นไม่ได้เขียนบทความให้กับ DVM มานาน ทางกองบอกอแจ้งว่า อยากได้เรื่องมาเสริมบทความ “กล้องวิดีโอกับการทำงาน” หน่อย สงสัยเพราะนามปากกา “ดุลขาว” (White Balance) ที่ผมใช้ทำให้หลายคนเข้าใจว่าผมเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องนี้ แต่หากจะปฏิเสธไปว่า ไม่รู้จะเขียนอะไร ก็คงจะเสียฟอร์มวิศวกรใหญ่หมด ยิ่งตอนนี้ลูก ๆ ชอบไปคุยให้เพื่อนเขาฟังว่า พ่อของเขานี้นะเป็นกรรมกรเสียด้วย เลยต้องทวงตำแหน่งคืนกันหน่อย จึงถามไปว่า แล้วฉบับนี้มีเรื่องอะไรเด่น ๆ บ้าง เผื่อเขียนไปแล้วจะได้ไม่ชนกัน เขาตอบผมว่า “ก็เด่นทุกเรื่องละครับ” แหม DVM นี่ช่างเข้มข้นเหมือนเดิมเลยนะ “แต่เออ มีรีวิวกล้องแคนนอน XLH1 ด้วย”  เขาเสริมด้วยเสียงที่ไม่ค่อยอยากบอกผมสักเท่าไร สงสัยกลัวผมน้อยใจ เพราะถ้าเป็นเรื่องกล้องปกติจะต้องส่งให้ผมรีวิวให้เป็นประจำ นี่คงเห็นเราฝีมือตกไปก็เลยไม่กล้าส่งให้ แต่ยังไงก็ต้องมาง้อเราอยู่ดี..

พูดถึงกล้องแคนนอน รู้สึกจะออกตัวช้าเกินไปในบ้านเรา เกือบทุกครั้งผมต้องกระตุ้นแล้วกระตุ้นอีก ยุคแรก ๆ สมัย XL-1/2 ออกมาใหม่ ๆ ก็ไม่ยอมสั่งมาขาย แฟนพันธ์แท้ทั้งหลายต้องบินไปหอบหิ้วมาเองจากสิงคโปร์หรือฮ่องกง นี่ถ้าไม่เห็นว่าของเขาดีจริง ๆ คงไม่ทุนเชียร์ให้บ่อย ๆ (จะได้มีคนใช้ตามไม่งั้นใช้เท่อยู่คนเดียว) แต่พอมาถึงตัว XLH1 ต้องยอมรับตรง ๆ ว่า เกรงใจกระเป๋าตัวเองเหลือเกิน ทำได้อย่างดีก็แค่เชียร์ให้หน่วยงานและเพื่อนฝูงที่มักคุ้นหาไว้ใช้แทน เผื่อจะได้ขอหยิบยืมของดี ๆ มาใช้ได้บ้าง

ประเด็นของกล้องที่มีการถกเถียงกันมากในช่วงปีนี้ ทั้งที่ปรากกฏในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร เว็บไซต์ เว็บบอร์ด และล่าสุด เว็บบล็อก โดยไม่มีทีท่าว่าจะยุติง่าย ๆ ก็คือเรื่องของ Progressive Scan 24p ยิ่งมีเรื่องราวของ XLH1 เข้ามาเสริม ทำให้ประเด็นนี้กลับมาถกเถียงกันต่อไปอีก 

 สาเหตุที่เรื่องมันไม่จบง่าย ๆ ก็เพราะคนที่ออกมาวิจารณ์มักไม่รู้จริง (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) ส่วนคนที่รู้จริง หมายถึงวิศวกรผู้ออกแบบ ก็ไม่ค่อยจะเผยตัว อาจเป็นเพราะพูดมากไม่ได้เพราะเป็นความลับของบริษัท เราจึงเห็นนักวิจารณ์ หรือจะเรียกว่าผู้เชี่ยวชาญภายนอกก็ได้ นำสินค้าต่าง ๆ มาทดสอบเปรียบเทียบกันอย่างเอาจริงเอาจัง ทำยังกับว่าจะทำ “รีเวิร์สเอ็นจิเนียริง” ย้อนกลับไปดูว่า หลักการหรือเทคโนโลยีที่แต่ละผู้ผลิตใช้ทำกล้องนั้นมัน “น่าจะ” เป็นอย่างไร

โชคดีที่มีผู้ใช้อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่สนใจในรายละเอียดเหล่านี้มาก แต่เป็นคนที่ดูภาพจากกล้องด้วยตาเนื้อ ๆ ซึ่งมีขีดจำกัดตามธรรมชาติโดยไม่อาศัยเครื่องวัดใด ๆ เลย คนเหล่านี้มั่นใจในสิ่งที่เขาเห็น หากเห็นว่าภาพที่ได้ ดี สวย คม นิ่ง เหมาะกับงานของเขาในราคาที่สมเหตุสมผลแล้ว เขาก็ยินดีที่จะจ่ายเพื่อเอามันไปใช้งาน ผู้ผลิตเองก็ดูจะพอใจกับลูกค้าประเภทนี้มากกว่า เนื่องจากลูกค้าที่อยากรู้ว่ามัน “ทำงานได้อย่างไร” มากกว่าการอยากเห็นว่า “ภาพเป็นอย่างไร” มักเป็นลูกค้าที่ไม่ค่อยซื้อของเสียด้วย

อย่างไรก็ตาม การรู้ว่ามัน “ทำงานได้อย่างไร” ก็มีประโยชน์ โดยเฉพาะคนที่ “ตาไม่ถึง” เหมือนผู้เขียน คือหากนำภาพมาเรียงกันแล้วบอกไม่ได้ว่าภาพไหนดีกว่ากัน หรือบอกไม่ได้ว่าชอบอันไหน ทางหนึ่งที่จะช่วยตัดสินใจได้ก็คือ ดูว่าเทคโนโลยีที่มันใช้ต่างกันอย่างไร เทคนิคไหนดูเข้าท่า มีหลักการดี ก็เลือกกล้องที่ใช้เทคนิคนั้น เผลอ ๆ พอรู้ว่าภาพไหนใช้เทคนิคดีกว่า เจ้าตา (ขี้โกง) มันอาจจะบอกว่า “เห็นไหมว่าภาพนี้ดูดีกว่า” 
** Please Login to read more ...  

              

Last Updated on Friday, 17 July 2009 15:29
 
Please register or login to add your comments to this article.